ผู้ใช้ facebook ชื่อ Sakon Nakhon ได้ลงข้อมูลไว้ดังนี้:
โครงการนี้แอดมินดำเนินการมายาวนานมากเป็นระยะเวลาดำเนินมาถึงเดี๋ยวนี้ 10 กว่าปี เปลี่ยนผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครมาแล้วหลายคน
รับพระเกศาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) จากคุณหญิงสุชาดา อรรถวิจิตรจรรยารักษ์ ผู้ถวายงานพระเกศาสมเด็จย่า ในปี พ.ศ. 2548 ยุคของนายปรีชา กมลบุตร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
ในปี พ.ศ. 2555 ได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ระดับสูง ให้ดำเนินการทำโครงการนี้เสนอต่อ นายบุญส่ง เตชมณีสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบต้นเรื่อง
ใน พ.ศ. 2556 สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร ได้นำโครงการเข้าบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อเสนอของบประมาณโดยได้รับประสานจากหน่วยงานสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสกลนคร เป็นเจ้าภาพ ด้วยงบประมาณ 350,300,000 บาท (สามร้อยห้าสิบล้านสามแสนบาทถ้วน) ที่สุดโครงการนี้ก็มิได้รับการพิจารณางบประมาณ โครงการหยุดชะงักลงและมิได้สำเร็จ
ใน พ.ศ. 2559 ได้เปลี่ยนหน่วยงานรับผิดชอบโครงการนี้จากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร มาเป็นหน่วยงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร ในยุคนายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ได้นำโครงการนี้เข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัด ด้วยงบประมาณเดิม 350,300,000 บาท (สามร้อยห้าสิบล้านสามแสนบาทถ้วน) ที่สุดโครงการนี้ก็มิได้รับการนำเสนอการของบประมาณ หยุดชะงักลง มิได้สำเร็จ
เมื่อดำเนินการตามคำแนะนำของผู้ใหญ่ระดับสูงทุกกระบวนการขั้นตอนทางหน่วยราชการแล้วและมิได้สำเร็จแต่อย่างใด ซึ่งใช้ระยะเวลายาวนานกว่า 10 ปี จึงทำให้แอดมินเปลี่ยนแนวคิดใหม่ ที่จะดำเนินการให้โครงการนี้สำเร็จลงได้โดยที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการของบประมาณจากหน่วยราชการนั้นเหมือนอย่างที่ผ่านมา ซึ่งอาจสร้างความหนักใจให้แก่ทุกฝ่ายในการดำเนินงาน
ยิ่งช่วงนี้อยู่ในยุค "ปัญหาเรื่องเงินทอนวัด" อยู่ด้วย การดำเนินการโครงการอะไรๆที่เกี่ยวเนื่องกับวัดย่อมถูกจับตามอง ยิ่งเงินงบประมาณมหาศาล สามร้อยกว่าล้านอย่างนี้ และแอดมินก็คิดว่าช่วงนี้ประเทศชาติและรัฐบาลไม่มีเงินเพียงพอด้วย
เหตุนี้ ใน พ.ศ. 2561 แอดมินจึงดำเนินการขอจัดตั้ง "มูลนิธิญาณสารเพื่อการพัฒนา" ขึ้น และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งมูลนิธิฯ ใน พ.ศ. 2562
จึงคิดโครงการที่จะสร้างเพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 โครงการ คือโครงการสร้างโรงพยาบาล 200 เตียง ในเนื้อที่ 342 ไร่ ริมฝั่งหนองหาร เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย โดยแบ่งพื้นที่ "โครงการพุทธอุทยานหนองหารหลวง สร้างพระมหาเจดีย์ประดิษฐานพระเกศา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) จำนวน 100 ไร่ และโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง จำนวน 100 ไร่ ที่เหลือเป็นโครงการเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวง ร.9
เมื่อแอดมินดำเนินการตั้งมูลนิธิฯในนามตนเองขึ้นแล้ว จึงมีองค์กรและบุคคลผู้มีศรัทธาปวารณาเป็นเจ้าภาพบริจาคเงินซื้อที่ดิน ปวารณาบริจาคเงินสร้างพุทธอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า และปวารณาบริจาคสร้างโรงพยาบาลให้แล้วเสร็จ ดังที่นำเสนอข้อมูลต่างๆในเวปไซต์มูลนิธิญาณสารเพื่อการพัฒนานั้น
การดำเนินการของมูลนิธิฯ เป็นไปด้วยความซื่อสัตย์โปร่งใส ได้รับการตรวจสอบทั้งจากหน่วยตำรวจฝ่ายสันติบาล และจากหน่วยทหารฝ่ายความมั่นคงเป็นไปเรียบร้อยทุกประการ
ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้ จะมีการดำเนินงานไปพร้อมๆกัน เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายนั้น ในนาม "มูลนิธิญาณสารเพื่อการพัฒนา" เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระในการของบประมาณจากภาครัฐบาลลงได้ และไม่ต้องรบกวนหน่วยราชการต่างๆเหมือนครั้งที่ผ่านๆมาอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น