วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บ้านบุตรสาวของเจ้าเมืองสกลนครคนสุดท้าย โบราณสถานสุดเก๋แห่งท่าแร่













รูปโดย สันติภาพ อุดมปรัชญาภรณ์

บ้านโบราณหลังนี้ มีอายุประมาณ 90-100 ปี เป็นบ้านของ นายหนู ศรีวรกุล (เฮียน เรียนดึงดึง) และนางหนูนา อุปพงษ์ ซึ่งเป็นบุตรของ พระยาประจันตประเทศธานี  เจ้าเมืองสกลนครเวลานั้น  เดิมสร้างเป็นที่อยู่อาศัย  ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการสั่งปิดโบสถ์ ไม่ให้ใช้ทำพิธีใดๆ ในทางศาสนา ชาวคริสต์จึงต้องหาสถานที่แห่งใหม่ เพื่อใช้ทำพิธีต่างๆ เช่น พิธีบูชามิสซา พิธีรับศีลสมรส และเนื่องจากบุตรหลานของเจ้าของบ้านหลังนี้ เป็นพระสงฆ์ในศาสนาคริสต์ จึงอนุญาตให้ใช้บ้านหลังนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และชาวคริสต์ รุ่นเก่าหลายคนก็เคยใช้บ้านหลังนี้จัดพิธีรับศีลแต่งงาน น่าเสียดายที่ต่อมาบ้านถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม ไม่มีการบูรณะซ่อมแซม มีต้นโพธิ์ขึ้นรกรุงรัง จนกลายเป็นบ้านร้างอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
(ข้อมูลจาก http://www.tharaesakon.go.th/link%20marge/Banboran/banboran.html)

หอโฮง (วัง) ของเจ้าเมืองสกลนครคนสุดท้าย


หอโฮงหรือจวนเจ้าเมืองสกลนคร (โง่นคำ) ใช้เป็นที่ว่าราชการงานเมืองในสมัยนั้น ถ่ายเมื่อคราวสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการหัวเมืองมณฑลอีสาน นับเป็นหนึ่งภาพวังเจ้าเมืองทางภาคอีสานที่หาได้ยากยิ่ง 
(ที่มารูปและเนื้อหา: https://www.facebook.com/679296892149559/photos/a.679328732146375/1920680508011185/?type=1&theater)

ภาพหอโฮงเจ้าเมืองอุบล ตามบันทึกของคณะสำรวจคณะหนึ่ง ไม่แน่ว่าหอโฮงเจ้าเมืองสกลนครในยุคหนึ่ง อาจใหญ่ขนาดนี้ห็เป็นได้

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2562

แก่งเต่า (ถ้ำเต่า) สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบ้านม่วง ∣ สกลนคร

ตำบลดงหม้อทองใต้ อำเภอบ้านม่วง สกลนคร
เป็นน้ำตกที่เป็นทางไหลผ่านของแม่น้ำสงครามยามอูนซึ่งถูกสายน้ำกัดเซาะเป็นโขดหินสวยงามคล้ายเต่าตัวใหญ่อยู่กลางลำน้ำสงคราม หัวไปทางจังหวัดหนองคาย ซึ่งแก่งเต่านี้มีผู้คนไปเที่ยวมากทั้งทางจ.หนองคายและสกลนคร มีน้ำที่ใส น่าลงเล่น แม่น้ำสงครามเป็นแม่น้ำที่กลั้นระหว่าง จ.หนองคายกับสกลนคร ทางด้านทิศเหนือ ของสกลนคร 

(ข้อมูลจาก http://www.thaitambon.com/travel/014171341)






รูปจาก








รูปจาก

รูปจาก

รูปจาก

คลิป 1

คลิป 2


วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สาเหตุที่ควรยึดตำนานพระยาสุวรรณภิงคารเป็นตำนานเมืองหลักของจังหวัดสกลนคร

สาเหตุที่ควรยึดตำนานพระยาสุวรรณภิงคารเป็นตำนานเมืองหลักของจังหวัดสกลนคร (โดย สันติภาพ อุดมปรัชญาภรณ์)

ที่ผ่านมาสกลนครมีทรัพยากรอย่างหนึ่งที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพชนแต่ไม่ได้รับการเชิดชูและนำมาต่อยอดเท่าที่ควร คือ ตำนานพระยาสุวรรณภิงคาร (หรือตำนานพระยาสุรอุทก) ซึ่งเป็นตำนานจากอุรังคธาตุนิทาน ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับพระธาตุเชิงชุม พระธาตุพนม พระธาตุภูเพ็ก พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุศรีจำปามหารัตนารามในอำเภอพังโคน บ่อภูน้ำลอดในวัดพระธาตุเชิงชุม คาถาบูชาพระธาตุเชิงชุม น้ำพุธรรมชาติที่บ้านน้ำพุในอำเภอโพนนาแก้ว หนองหาร เกาะดอนสวรรค์ และสถานที่อื่นๆ อีกหลายแห่งในสกลนคร อีกทั้งยังเป็นตำนานเมืองที่ทางเจ้าเมืองสกลนครคนสุดท้าย (หรือพระยาโง่นคำ) เขียนส่งให้กับทางเมืองหลวง จึงนับได้ว่าตำนานพระยาสุวรรณภิงคารคือตำนานหลวงของสกลนคร ไม่ใช่ตำนานผาแดงนางไอ่ ดังนั้นจึงควรมีการนำเสนอควบคู่ไปกับตำนานผาแดงนางไอ่ด้วย ตำนานพระยาสุวรรณภิงคารเป็นตำนานที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวได้ดีกว่าตำนานผาแดงนางไอ่ ที่เชื่อมโยงกับสถานที่ในสกลนครเพียงหนองหารและดอนสวรรค์เท่านั้น และด้วยการนำเสนอตำนานผาแดงนางไอ่ของจังหวัดสกลนครที่ผ่านทั้งในสถานที่สาธารนะ งานเทศกาล และสื่อใน internet สร้างความไม่พอใจให้กับชาวอุดรธานีในจำนวนไม่น้อย เพราะในอำเภอกุมภวาปีมีสถานที่ที่เชื่อมโยงกับตำนานผาแดงนางไอ่มากกว่า 20 แห่ง ในขณะที่ตำนานพระยาสุวรรณภิงคารมิได้ทำให้ชาวอุดรธานีเกิดความรู้สึกในทางลบแต่อย่างใด ดังนั้นในการ Presentation ตำนานเมืองสกลนครเพื่อการท่องเที่ยว ทั้งในสถานที่สาธารณะและในพิพิธภัณฑ์ภูพาน ควรนำเสนอตำนานพระยาสุวรรณภิงคารเป็นหลัก หรือนำเสนอควบคู่ไปกับตำนานผาแดงนางไอ่ นอกจากนี้ยังเป็นการเชื่อมโยงกับสิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่ในจังหวัดสกลนครอีกด้วย เช่นภาพตำนานเมืองในประตูเมืองสกลนคร รูปปั้นพญาสุวรรณนาคในวัดพระธาตุเชิงชุม และในวงเวียนพญานาคข้างพิพิธภัณฑ์ภูพาน อนุสาวรีย์พระยาสุวรรณภิงคาร


ราชมงคลสกลนคร เก็บเกี่ยวกัญชาแล้ว!!