วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ยินดีต้อนรับ เทศบาลนครแห่งที่ 6 ของภาคอีสาน "เทศบาลนครขามใหญ่"

ยินดีต้อนรับ เทศบาลนครแห่งที่ 6 ของภาคอีสาน!! #เทศบาลนครขามใหญ่

ยินดีต้อนรับ เทศบาลนครแห่งที่ 6 ของภาคอีสาน!! #เทศบาลนครขามใหญ่ เกิดจากการรวมกันของ อบต.ไร่น้อย+เทศบาลตำบลปทุม+เทศบาลตำบลขามใหญ่ ทำให้มีพื้นที่มากถึง 124.5 ตร.กม. !! กลายเป็นเทศบาลนครที่มีขนาดพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 1 ของภาค แทนเทศบาลนครสกลนครที่มีขนาดพื้นที่ 54.54 ตร.กม. (ในรูป ทน.ขามใหญ่ คือเส้นสีทอง เส้นสีแดงคือ ทน.อุบลราชธานีครับ ทั้งนี้เขตสีทองคือการประมาณเขตคร่าวๆ ครับ)
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จังหวัดอุบลราชธานี กลายเป็นจังหวัดแรกและจังหวัดเดียวของภาคในขณะนี้ ที่มีเทศบาลนครมากกว่า 1 แห่ง ในจังหวัด
ทางสกลนครก็สามารถเกิด เทศบาลเมืองเพิ่มได้ครับ เช่น เทศบาลเมืองสว่างแดนดิน เทศบาลเมืองพังโคน หาก อปท. ที่ติดๆ กัน ยอมรวมกันได้เหมือนกับที่ทาง 3 อปท. ของอุบลราชธานีเขายอมรวมกันเป็นเทศบาลนครนั่นเอง

เขตเทศบาลของ ทน. ขามใหญ่ และ ทน. อุบลราชธานี
(ที่มารูป fb: Todsaporn New)

 ประกาศจัดตั้งเทศบาลนครขามใหญ่

ประกาศจัดตั้งเทศบาลนครขามใหญ่
(ที่มา: https://www.guideubon.com/2.0/ubon-news/khamyai-ubon/)

นเขตเทศบาลนครขามใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลขามใหญ่
(ที่มา: https://travel.kapook.com/view54300.html)

สกลนครหนึ่งในจังหวัดที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แผนที่แสดงจังหวัดและแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ


(โปรดคลิกชมรูปในขนาดที่ใหญ่ขึ้น)

โครงการย้ายสายสื่อสารลงดิน เขตเทศบาลนครสกลนคร โดย บริษัท TOT

ด้วย บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
ได้ดำเนินการโครงการ ก่อสร้างท่อร้อยสายโทรศัพท์ใต้ดินและบ่อพัก ย้ายสายสื่อสารลงดินสกลนครเมือง ๓ ธรรม สโลว์ไลฟ์ไทยแลนด์ ดินแดนพระราชา
เส้นทางที่ 1. บริเวณสี่แยกศรีนคร - วัดพระธาตุเชิงชุม - สี่แยก สภ.เมือง
เส้นทางที่ 2. บริเวณสี่แยกศรืนคร - ธนาคารกรุงเทพ - สามแยกธนาคารกรุงศรีฯ - สี่แยกหอนาฬิกา
เริ่มสัญญา 14 มกราคม 2563 สิ้นสุดสัญญา 8 พฤศจิกายน 2563 รวมระยะทาง 5,906 เมตร สภ.เมืองสกลนครจึงขอแจ้งประชาสัมพันธ์ผู้ใช้รถใช้ถนนโปรดใช้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว
(รูปและข้อมูลจาก : ประธานหอการค้าจังหวัดสกลนคร)

แก่งตาลปัด | สถานที่ท่องเที่ยว ตำบลโนนหอม อำเภอเมืองสกลนคร

(ถ่าย ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563)

ตั้งอยู่ที่ บ้านโนนหอม ต.โนนหอม อ.เมือง จ.สกลนคร



























เครดิตตามรูปครับผม

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

แปลนพัฒนาสนามมิ่งเมือง 2562 (แต่สุดท้ายแล้วเทศบาลฯ ใช้อีกแปลน)











คณะจัดทําแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าสกลนคร ได้ทำการออกแบบการพัฒนาสนามมิ่งเมืองในปี 2562 (พร้อมแผนพัฒนาเมืองเก่าเรื่องอื่นๆ ด้วย) โดยมีตัวแทนประธานชุมชนจากทุกเขตในเขตเมืองเก่าสกลนครรับทราบ และมิได้โต้แย้งแผนนี้แต่อย่างใด แต่ท้ายสุดแล้ว แบบแปลนพัฒนาสนามมิ่งเมืองที่ทางเทศบาลขึ้นโชว์ในป้ายที่สนามมิ่งเมืองล่าสุดกลับกลายเป็นอีกแผน!! แอดมินแปลกใจแต่ก็มิทราบเหตุผลครับ ว่าเหตุใดจึงไม่ยึดตามแผนที่ทางคณะฯ ได้ออกแบบไว้ แล้วแฟนเพจชาวสกลนครหละครับ ชอบแผนที่ทางเทศบาลขึ้นโชว์ในป้าย หรือแบบที่คณะจัดทําแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าสกลนคร ออกแบบในปี 2562 มากกว่ากันครับ
แบบล่าสุดที่ทางเทศบาลโชว์ ดูได้ที่
https://www.facebook.com/sakonnakhon/posts/3053681491325259 (ไฟล์ภาพ) และ https://kksnk.blogspot.com/2019/08/blog-post_9.html (ป้าย)
เครดิตรูป: คณะจัดทําแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าสกลนคร

มหัศจรรย์ที่ 4 "กระต่ายดำภูพาน" สุดยอดอาหารโปรตีน หวังเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่


ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนานกเค้า ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร นับว่าประสบสำเร็จจากการวิจัยและศึกษาทางการเกษตร นำไปสู่การต่อยอดให้เกษตรกรได้กินดี อยู่ดี ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสิ่งที่ได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างเด่นชัดก็คือ 3 ดำมหัศจรรย์ นั่นก็คือไก่ดำภูพาน หมูดำภูพานและวัวดำภูพาน สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก ซึ่งวันนี้  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เปิดตัวมหัศจรรย์ที่ 4 นั่นก็คือ กระต่ายดำภูพาน ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ให้กับทางศูนย์ฯ ตลอดจนเกษตรกรที่สนใจ  ไม่ว่าจะเป็นเลี้ยงเพื่อความสวยงาม หรือเลี้ยงเพื่อการค้า และเลี้ยงเพื่อการบริโภค
เมื่อกล่าวถึงกระต่าย หลายๆคนก็คงจะคิดถึงสัตว์ตัวเล็ก ๆน่ารัก มีขนปุกปุย กินผักกินหญ้า เป็นอาหาร  แต่ในความเป็นจริงมุมหนึ่งของสังคมโลก กระต่ายก็คืออาหารชนิดหนึ่งของคนมาตั้งแต่บรรพกาลแล้ว เนื่องจากเนื้อกระต่ายมีรสชาติอร่อย  เนื้อนุ่ม ขาวคล้ายๆเนื้อไก่ มีโปรตีนสูง ประเทศไทยมีกระต่ายสายพันธ์ท้องถิ่นหลายสายพันธ์  ลักษณเด่นกระต่ายสายพันธ์ไทย  ขนจะสั้น  มีหลากหลายสี ว่องไว ปราดเปรียว หูยาว หน้าแหลม  เลี้ยงลูกเก่ง ตกลูกปีละประมาณ 6-8 ครอก โดยเฉลี่ย ครอกละ 5-10 ตัว  ทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี  กระต่ายไทยมีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง สามารถกระโดดได้สูงเกิน 1 เมตร ตัวโตเต็มที่หนักจะอยู่ประมาณ 1-2 กิโลกรัม 
นายสัตว์แพทย์ วิศุทธิ์ เอื้อกิ่งเพชร  หัวหน้างานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  กล่าวเพิ่มเติมว่า  เพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ให้สร้างแหล่งอาหารโปรตีนคุณภาพ ใช้ต้นทุนน้อยที่สุด ให้เด็กนักเรียนและประชาชน  ศูนย์ศึกษษการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร จึงได้ริเริ่มโครงการ พัฒนากระต่ายเนื้อขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร มีอาชีพ มีรายได้ นอกเหนือจากการทำนา เลี้ยงสัตว์  โดยหลักของการพัฒนา ได้นำกระต่ายพันธ์ไทยเพศเมีย  นำมาผสมกับพ่อพันธุ์กระต่ายยักษ์จากฝรั่งเศส ที่มีรูปร่างใหญ่ น้ำหนักประมาณ 7-8 กิโลกรัม  
เพื่อปรับปรุงสายพันธุ์กระต่ายพันธ์ไทย  พัฒนาให้มีโครงสร้างใหญ่ขึ้น  แต่ยังคงความแข็งแรง เลี้ยงง่าย ทนต่อทุกสภาพอากาศได้ดี  คุณภาพเนื้อมีรสชาติดีไม่มีกลิ่นสาบ  อาหารที่ใช้เลี้ยงต้องหาง่าย เกษตรกรไม่เสี่ยงขาดทุน  กระต่ายมีความน่ารัก จึงเกิดกระแสคัดค้านที่จะนำมาเลี้ยงขายเป็นเนื้อสัตว์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกระแสดรามาตามมา จึงให้เด็กนักเรียนที่แวะเวียนมาดูงานที่ศูนย์ฯ หลายกลุ่มเลือกกระต่ายที่ตัวเองชอบมาอุ้ม  ผลปรากฏว่า เด็กเลือกอุ้มกระต่ายทุกสียกเว้นแต่เพียงกระต่ายสีดำ...ไม่มีเด็กคนไหนอุ้ม จึงสรุปว่า ถ้าจะส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงกระต่ายขายเป็นเนื้อสัตว์ ต้องปรับปรุงพันธุ์กระต่ายให้ออกมามีขนสีดำเท่านั้น  จึงออกมาเป็นผลสำเร็จ เรียกชื่อใหม่ว่ากระต่ายดำภูพาน
เราพัฒนาจากพันธุ์เยอรมันไจแอนท์  จนได้กระต่ายลูกผสม F4  คือ  ได้กระต่ายรุ่นลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น  น้ำหนัก 4.5 กก. ซึ่งจากปกติกระต่ายพื้นเมืองจะหนักตัวละไม่เกิน 1-2 กก.เท่านั้น  อายุ 1 เดือนสามารถขายได้ตัวละ 250 บาท เมื่อมีการชำแหละแล้ว จะมีการขายอยู่ที่ กก.ละ 200-300  บาท   กระต่ายดำเนื้อภูพาน ยังมีคุณภาพเนื้อโปรตีนสูง ไขมันต่ำ มัดกล้ามเนื้อขนาดเล็ก ย่อยง่าย เหมาะกับกลุ่มคนรักสุขภาพ นักเพาะกาย และกลุ่มผู้สูงวัยมีปัญหาเรื่องระบบการย่อย   วันนี้กระต่ายดำภูพาน  พร้อมส่งเสริมให้ชาวบ้าน จ.สกลนคร นำไปต่อยอด เลี้ยง เพื่อสร้างอาชีพ รายได้แล้ว  โดยผู้ที่สนใจสายพันธ์กระต่าย  สามารถติดต่อสอบถามได้ที่  โทร. 042-747458  ต่อ 602 งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์

พระยอดธง ยอดสุด ฉัตรพระธาตุเชิงชุม

เคยเห็นกันหรือไม่ ???
พระยอดธง ยอดสุด ฉัตรพระธาตุเชิงชุม
ได้เห็นเป็นบุญตา สาธุ สาธุ สาธุ
ภาพโดย คุณโชคชัย พรหมสาขา ณ สกลนคร เมื่อครั้งยอดฉัตรพระธาตุหัก

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เรามารู้จักกับ "พระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง" กันดีกว่าครับ

รูปที่ 1 เป็นหลวงองค์แสน ณ วัดพระธาตุเชิงชุม ก่อนจะถูกกรมศิลป์บูรณะให้กลายเป็นศิลปะล้านนา (เชียงแสน)
รูปที่ 2 หลวงพ่อองค์แสนเก่าแก่ ณ พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร
รูปที่ 3 พระพุทธรูปที่เวียงจันทน์ สปป. ลาว
รูปที่ 4 พระพุทธรูปสมัยใหม่ ที่สร้างโดยใช้ศิลปะแบบล้านช้าง ฝีมือชาวไทย จากเพจ FB: สืบสานงานพุทธศิลป์ล้านช้าง
พระพุทธรูปแบบล้านช้าง มีลักษณะเฉพาะตัว มีความงามในแบบของตนเอง แต่ในปัจจุบันชาวอีสานส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นเคยนัก แต่จะคุ้นกับพระพุทธรูปศิลปะสยามเสียมากกว่า ทั้งอาคารในวัด และพระพุทธรูปในภาคอีสานส่วนใหญ่ กลายเป็นศิลปะสยามไปเสียแทบทั้งหมด แต่หลังๆ ก็เริ่มมีกระแสกลับมาฟื้นฟูศิลปะล้านช้างในภาคอีสานแล้วครับ
#หมายเหตุ "ล้านช้าง" คืออาณาจักรขนาดใหญ่ในอดีตที่กินพื้นที่ตั้งแต่เกือบทั้งหมดของภาคอีสานไปจนถึงทั้งหมดของประเทศลาวในปัจจุบัน และสกลนครเอง (สมัยนั้นชื่อ "เชียงใหม่หนองหาน") ก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างเช่นกัน ก่อนจะกลายเป็นประเทศราชของสยาม และถูกรวมรัฐกลายเป็นส่วนหนึ่งของไทยในปัจจุบัน