วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562

ถนนสายอุดรธานี-สกลนคร-นครพนม กำลังกลายเป็น 4 เลนตลอดสาย!! (มีรูปประกอบ)

...สกลนครใกล้จะมีถนน 4 เลนตลอดแนวถนนนิตโยแล้ว (ถนนสายอุดรธานี-สกลนคร-นครพนม) ในอีกไม่ช้านี้ โดยตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงก่อสร้าง
...ส่วนถนนสายพังโคน-วานรนิวาส-คำตากล้า-บึงกาฬ ก็มีแผนขยายถนนเป็น 4 เลน เช่นกัน แต่ต้องรอก่อน เนื่องจากมีแผนออกมาแล้วแต่ยังไม่ได้มีการก่อสร้างเกิดขึ้น

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562

ทะเลแห่งอีสาน "หนองหาร" สกลนคร (สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมืองสกลนคร)

...หนองหาร ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในอีสาน และอันดับ 2 ของไทย (รองจากบึงบอระเพ็ด) มีขนาดราวๆ 77,000 ไร่ อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยชื่อทะเลสาบแห่งนี้จะมีชื่อที่พ้องเสียงกับหนองหาน ของจังหวัดอุดรธานี แต่อยู่ไกลกันมาก และมีขนาดที่ต่างกันราวๆ 3 เท่า แต่ก่อนทะเลสาบของสกลนครก็ใช้ชื่อว่า หนองหานเช่นเดียวกับอุดรธานี แต่ภายหลังทางราชการได้กำหนดให้สกลนครใช้คำว่า "หนองหาร" เพื่อความสะดวกไม่สับสนกัน










รูปจาก:https://www.sanook.com/travel/1406781/

พิกัดใน Google Map

พบซากกระดูกไดโนเสาร์ อายุราว130 ล้านปี !! ที่เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูล้อมข้าวและป่าภูเพ็ก

จังหวัดสกลนคร "ตรวจสอบซากกระดูกไดโนเสาร์ อายุประมาณ 130 ล้านปี เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูล้อมข้าวและป่าภูเพ็ก"
เมื่อวันนี้ 16 ม.ค. 62 หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ สน.4 (เมือง) ร่วมกับพิพิธภัณฑ์สิรินธร จ.กาฬสินธุ์ กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกันตรวจสอบซากกระดูกไดโนเสาร์ อายุประมาณ 130 ล้านปี ที่พิกัด 48Q 0395808 UTM 1889777 เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูล้อมข้าวและป่าภูเพ็ก ท้องที่บ้านนานกเค้า ต.ห้วยยาง อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร



--- ศูนย์ข่าวประชาสัมพันธ์ กอ.รมน.จังหวัด ส.น. รายงาน ---

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562

การพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในย่านเรือนจำเก่า เทศบาลนครสกลนคร(1)


รูปจาก FBhttps://www.facebook.com/ptnsnk

การพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในเทศบาลนครสกลนครครับ 👍👍👍
- จะมีการตัดถนนใหม่ตามแนวเส้นสีเหลือง โดยเป็นถนนขนาด 4 เลน
- จะมีการสร้าง "ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกเพศทุกวัย ไทยสกล" ที่เรือนจำเก่า (ชื่อในอนาคตอาจมีการปรับเปลี่ยน) ศูนย์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อให้คนสกลนครทุกช่วงวัยได้เข้ามาพัฒนาศักยภาพของตนเอง แต่จะมีการเน้นเป็นพิเศษกับนักเรียนในช่วงวัย ม.1-ม.3 เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้รู้ถึงความถนัดของตนเอง โดยศูนย์แห่งนี้จะมีห้องปฏิบัติการด้านต่างๆ เช่น ดนตรี อาหาร วิทยาศาสตร์ การแสดง และอื่นๆ ให้เข้าไปลองปฏิบัติจริง นอกจากนี้ทางศูนย์ยังมีสถานที่สำหรับให้นักเรียนติวหนังสือกัน ทั้งแบบอ่านเงียบในอาคาร และแบบใช้เสียงภายนอกอาคาร และโซนบริการอื่นๆ อีกมากมาย
- ทางฝั่งตรงข้ามเรือนจำ (บ้านพักข้าราชการเก่า) ก็จะกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ทางวัฒนธรรมของสกลนคร มีการจำลองบ้านชนเผ่าต่างๆของสกลนคร มีโซนความรู้ด้านผลิตภัณฑ์ GI และมีผลิตภัณฑ์ให้จัดจำหน่าย (ในรูปไม่ได้ขีดขีดขอบเขตไว้)
- ทั้งนี้ศูนย์เรียนรู้ดังกล่าว หลายๆท่านอาจมีความกังวลว่าใครจะดูแล คำตอบคือไม่ใช่ราชการแบบเต็มตัวแน่นอน แต่จะเป็นองค์กรรูปแบบใดยังไม่มีความชัดเจนในขณะนี้ครับ
ชม VDO บรรยายเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการได้ที่ https://www.facebook.com/odd.labur/videos/10217894028600308/

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2562

รวมการพัฒนาจังหวัดสกลนครที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2561 (บางส่วน)


1. สกลนครมีบิ๊กซีระดับซุปเปอร์เซ็นเตอร์ เพิ่มอีก 2 แห่ง ได้แก่ สาขาพังโคน (28 มีนาคม 2561) และสาขาคำตากล้า (30 มีนาคม 2561)

รูปจาก FB: พังโคน บ้านเฮา

รูปจากเว็บไซต์: อีสานซิตี้

2. โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร ได้ทำการเปิดศูนย์เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ เมื่อ วันที่ 1 พฤษจิกายน 2561โดยเป็นตึกโรคหัวใจชั้น 1 ไม่แพ้ระดับประเทศ มีความพร้อมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ และแพทย์เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจทุกสาขา เปิดให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนมและบึงกาฬ
(ดูคลิปวันเปิดได้ที่ https://www.facebook.com/prdsakonprd/videos/561205281000572/)

3. โรงพยาบาลศูนย์สกลนครทำการก่อสร้างพื้นที่จอดรถทางด้านหลังของโรงพยาบาลเพิ่ม โดยมีการคาดการณ์กันว่าต่อไปโซนดังกล่าวนี้จะกลายเป็นหน้าโรงพยาบาลแทนด้านหน้าโรงพยาบาลเดิม
รูปจากFB: Ent-nurse Skn
4. มีการก่อสร้างท่อระบายน้ำเพิ่มที่ถนนสาย Sonata Cafe และถนนสกลทวาปี

5. มีการเปิด The Pizza Company เพิ่ม 1 สาขาในเขตเทศบาลนครสกลนคร และมีการประกาศรับสมัครพนักงาน The Pizza Company สาขาสว่างแดนอีกด้วย (แต่สาขาสว่างแดนดินยังสร้างไม่เสร็จในปี 2561)

รูปจาก สันติภาพ อุดมปรัชญาภรณ์

6. ห้างเนวาด้าสาขาสกลนนครได้หมดสัญญากับทางเนวาด้า กลายเป็นห้างศรีสกลซีนีเพล็กซ์ โดยมีการปรับปรุงบางส่วนของห้างด้วย

รูปจากFB: Srisakon cineplex

7. มีการเปิดบริการของศูนย์กีฬาและกิจกรรมในเขตเทศบาลนครสกลนครชื่อ "The Areais" 
       ประกอบด้วย
    - ฟิตเนส 🏋🏻‍♂️🧘🏻‍♀️
    - สระว่ายน้ำทั้งกลางแจ้งและในร่ม 🏊🏻‍♂️
    - ห้องซาวน่า 🧖🏼‍♀️🧖🏻‍♂️
    - หน้าผาจำลอง 🧗🏻‍♀️🧗🏼‍♂️
    - สนามหญ้าเทียม 2 สนาม ⚽️🏃🏻‍♂️ (มีหลังคาและไม่มีหลังคา)
    - ร้านกาแฟ ☕️ ของหวานต่างๆ
    - ร้านอาหาร ,ราเมน 🥨🥖🥐🥢
     - บริการอื่นๆ
รูปจากFB: The Areais

8. แหล่งท่องเที่ยวพญาเต่างอยปรับภูมิทัศน์

รูปจากFBSurivipa - สุริวิภา

9. เกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ "วัดบ้านไทรย้อย" ฉายาวัดร่องขุ่นสกลนคร ที่ อ. กุสุมาลย์

รูปจากFB: วัดบ้านไทรย้อย นาโพธิ์

10. เกิดลานกิจกรรม "ลานสกลละเบ๋อ" ขึ้น เป็นอีกมุมที่คนเมืองสามารถเข้าไปนั่งเล่น นั่งชิลได้ โดยจะมีกิจกรรมต่างๆแวะเวียนเข้าไปจัดอยู่เรื่อยๆ ไม่น่าเบื่อ อยู่ข้างวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร

รูปจากFB: ลานสกลละเบ๋อ

11. เกิดสวนน้ำแห่งใหม่ขึ้นในอำเภอคำตากล้า


รูปจาก FBNichanan Wongwian





วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562

16 ความเป็นที่สุดของสกลนคร มีอะไรบ้าง เข้ามาอ่านกันครับ

 
     1. สกลนครเป็นจังหวัดที่มีสินค้า GI มากที่สุดในประเทศ โดยมีถึง 6 ชนิด ได้แก่ ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี หมากเม่าสกลนคร น้ำหมากเม่าสกลนคร ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร เส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน
ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า GI สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ipthailand.go.th/images/633/GI/north-east/sakonnakhon.pdf



   2. สกลนครมีโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริมากเป็นอันดับ 1 ของอีสาน และอันดับ 2 ของประเทศ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพียงแห่งเดียวของอีสาน


    3. สกลนครมีทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในอีสาน และอันดับ 2 ของประเทศ "หนองหาร" รองจากบึงบอระเพ็ด


4. พระธาตุเชิงชุม เป็นพุทธสถานเพียงแห่งเดียวของอีสานที่ได้ถูกทำลวดลายลงในเหรียญกษาปณ์


5. สกลนครเป็นจังหวัดที่จุดเทียนถวายอาลัยยาวที่สุดในโลก ใช้มวลชนกว่า 150,000 คน ระยะทางกว่า 17 กิโลเมตร (รูปจากกระปุกดอทคอม)


6. สกลนครเป็นจังหวัดเดียวในอีสานที่เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฎของจังหวัดสกลนครยังเป็นสถานที่สำหรับรับพระราชทานปริญญาบัตรของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎทั้งภาคอีสานอีกด้วย


7. สกลนครเป็นที่ตั้งของสมาคมชาวเวียดนามแห่งประเทศไทย (รูปจากFB สมาคมชาวเวียดนามแห่งประเทศไทย)


8. สกลนครเป็นจังหวัดที่มีน้ำพุที่สูงที่สุดในประเทศไทย (รูปจาก Suwanna Muling)


9. สกลนครเป็นที่ตั้งของเทศบาลนครแห่งล่าสุดของภาคอีสาน (เป็นแห่งที่ 5) และเป็นเทศบาลนครที่มีขอบเขตของพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในอีสานอีกด้วย (54.54 ตร.กม.)


10. สกลนครเป็นหนึ่งในจังหวัดที่จัดงานเฉลิมฉลองคริสต์มาสได้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ (รูปจากFBมหัศจรรย์สกลนคร)


11. จังหวัดสกลนครเป็นจังหวัดที่มีหมู่บ้านชาวคาทอลิกที่ใหญ่ที่สุดในไทย ที่ ต. ท่าแร่


12. จังหวัดสกลนครเป็นเมืองศูนย์ของกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 หรือ "กลุ่มจังหวัดสนุก" ซึ่งประกอบไปด้วยจังหวัดสกลนคร นครพนมและมุกดาหาร (สีชมพูอ่อนในแผนที่) โดยสกลนครเป็นจังหวัดศูนย์กลางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศูนย์กลางทางการศึกษาของกลุ่มจังหวัดสนุก ทั้งนี้ในปัจจุบันสกลนครมีมหาวิทยาลัยถึงมากถึง 5 แห่งภายในจังหวัด แม้จะไม่มากเท่าขอนแก่นหรือจังหวัดระดับ Top อื่นๆ แต่ภายในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนก็ถือว่าไม่ได้ด้อยไปกว่าจังหวัดใดๆ


13. สกลนครปลูก “หวาย” ตัดหน่อเยอะสุดในประเทศไทย


รูปจาก https://www.77kaoded.com/content/66980

14. สกลนครเป็นแหล่งกำเนิดพันธุ์พืชกัญชาที่ดีที่สุดในอดีต และเป็นจังหวัดนำร่องของไทย ในการปลูกกัญชาเพื่อการรักษาโรค

รูปประกอบจาก https://news.mthai.com/general-news/610976.html

15. พระธาตุภูเพ็ก เป็นปราสาทขอมที่มีการวางโครงสร้างขององค์ปรางค์ประธานไว้ใหญ่ที่สุดในไทย (แต่เป็นปราสาทขอมที่สร้างไม่เสร็จ) และเป็นปราสาทขอมที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย


16. อุณหภูมิพื้นราบที่ต่ำที่สุดที่เคยมีการบันทึกมาในประเทศไทยอยู่ที่ -1.4 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2517 ณ จังหวัดสกลนคร


ตำนานพระยาสุวรรณภิงคาร (ตำนานเมืองสกลนนคร)


เมืองหนองหารหลวง สู่เมืองเชียงใหม่หนองหาร เมืองสกลทวาปี และเมืองสกลนคร


*หมายเหตุตำนานนี้เป็นตำนานที่เกี่ยวข้องกับพระธาตุโบราณของสกลนครคือ พระธาตุเชิงชุม พระธาตุภูเพ็ก และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งเป็นคนละตำนานกับผาแดง-นางไอ่
เดิมเมืองสกลนครปรากฏนามว่า เมืองหนองหารหลวง ครั้งหนึ่ง "ขุนขอม" ราชบุตรเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร ได้พาครอบครัวบ่าวไพร่ของตนมาสร้างเมืองขึ้นที่ริมหนองหารหลวง ตรงท่านางอาบ (ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นบ้านน้ำพุ บ้านท่าศาลา อำเภอโพนนาแก้ว) สมมุตินามว่าเมืองหนองหารหลวง ขุนขอมได้เป็นเจ้าเมือง ขึ้นกับเมืองอินทปัตถ์นคร
ขุนขอมมีราชบุตรคนหนึ่งชื่อสุรอุทกกุมาร คือ เมื่อวันประสูติมีอัศจรรย์บังเกิดขึ้น มีน้ำพุเกิดขึ้นในที่ใกล้กับเมืองนั้น บิดาจึงให้นามว่า ซ่งน้ำพุ (ปัจจุบันคือบ้านน้ำพุ อำเภอโพนนาแก้ว)
ต่อมาพอพระชนม์ของเจ้าสุรอุทก จำเริญวัฒนาครบ ๑๕ พรรษา ขุนขอมผู้เป็นบิดาถึงแก่กรรม ฝ่ายกรมการราษฎร พร้อมกันเชิญเจ้าสุรอุทกขึ้นเป็นเจ้าเมือง สมมุตินามว่า “พระยาสุรอุทก”
พระยาสุรอุทก ปกครองบ้านเมืองต่อมามีบุตรชายสององค์ องค์พี่ปรากฏนามว่าเจ้าภิงคาร องค์น้องปรากฏนามว่าเจ้าคำแดง
พระยาสุรอุทก พร้อมทั้งบุตรชายทั้งสอง คือเจ้าภิงคาร และเจ้าคำแดง บนศิลปะกระเบื้องดินเผาที่ประตูเมืองสกลนคร
ในวันหนึ่งพระยาสุรอุทก มีคำสั่งให้เสนาข้าราชการจัดรี้พลโยธาออกตรวจอาณาเขตบ้านเมืองของตน ครั้นตรวจไปถึงปากน้ำมูลนที ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับเขตอินทปัฐนคร เสนาข้าราชการทูลชี้แจงว่าที่นี้เป็นที่ แบ่งเขตเมืองหนองหารหลวงกับเมืองอินทปัฐนคร ตามลำน้ำมูลนที จรดดงพระยาไฟ (ตามแนวแม่น้ำมูล) ขุนขอมซึ่งเป็นบิดาของพระองค์ กับเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร ได้มอบอำนาจให้ ธนมูลนาค เป็นผู้รักษาอาณาเขตต่อไป
พระสุรอุทก ทรงพิโรธว่าปู่กับบิดามอบอำนาจให้ธนมูลนาค ซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉานรักษาอาณาเขตบ้าน เมืองยังไม่สมควร พระยาสุรอุทกชักพระขรรค์คู่กำเนิด ออกทำฤทธิ์ไต่ไปบนห้วงน้ำมูลนที และแกว่งพระขรรค์ แสดงฤทธิ์ข่มขู่ ธนมูลนาคโกรธก็ทำฤทธิ์แสดงตนให้พระยาสุรอุทกเห็นเป็นอัศจรรย์ต่าง ๆ นานา ในขณะนั้น การแสดงฤทธิ์ต่างคนต่างไม่หยุดหย่อนท้อถอยซึ่งกันและกัน จนพระยาสุรอุทก ต้องยกรี้พลโยธากลับบ้านเมืองของตน
ฝ่ายธนมูลนาค เมื่อพระสุรอุทกกลับเมือง ก็ยังไม่ลืมความโกรธแค้นที่พระยาสุรอุทกมาลบหลู่ตน จึงจัดกำลังโยธาเพื่อนงูทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจของตนติดตามพระยาสุรอุทกไปถึงหนองหารหลวง สำแดงฤทธิ์พลโยธาทั้งหลายให้เป็นฟานเผือกขาวงามบริสุทธิ์ทุกตัว และเดินผ่านเมืองไปที่โพธิ์สามต้น (ปัจจุบันคือ ต.โพธิไพศาล อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร) ชาวเมืองทั้งหลายเห็นจึงนำเหตุขึ้นกราบเรียนพระยาสุรอุทกในทันที
พระยาสุรอุทก แสดงฤทธิ์ข่มขู่ธนมูลนาค บนศิลปะกระเบื้องดินเผาที่ประตูเมืองสกลนคร
พระยาสุรอุทกไม่มีความตรึกตรองอย่างหนึ่งอย่างใด สั่งให้นายพรานทั้งหลายไปช่วยกันล้อมจับเป็นมาถวาย ถ้าจับไม่ได้ให้จับตาย นายพรานรับคำสั่งแล้วพร้อมทั้งราษฎรหลายคนติดตามไปจนถึงโพธิ์สามต้น จึงพบฝูงฟานด่อนกำลังกระจายตัวเล็มหญ้าอยู่ นายพรานจัดคนเข้าล้อมฝูงนาคที่สำแดงตัวเป็นฟานด่อน ฝูงฟานด่อนต่างหลบหนี เร้นกายกำบังตัวหายไปรวดเร็วราวกับความฝัน ยังอยู่แต่ธนมูลนาคตัวเดียวที่ยังคงทำท่าแทะเล็มหญ้าอยู่โดยไม่ได้ตกใจหนีไป แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถจับได้โดยง่าย
ธนมูลนาคทำทีเดินหลอกล่อนายพรานกับกำลังโยธาเข้าไปในป่า เดินจนเหนื่อยแต่ก็ยังไม่สามารถจับได้ พอถึงหนองบัวสร้าง (ปัจจุบันคือพื้นที่บ้านหนองบัวสร้าง ต.อุ่มจาน อ.กุสุมาลย์ ตั้งอยู่ติดกับถนนสายนาหว้า-สกลนคร) นาคฟานก็ทำทีเป็นเจ็บขา นายพรานกับพวกก็เข้าล้อมจะจับเอาเป็นก็ไม่ได้ จึงตัดสินใจยิงฟานด่อนตัวนั้นด้วยหน้าไม้อันมีลูกดอกผสมด้วยยาพิษ ถูกฟานด่อนเข้าที่สำคัญ ฝ่ายธนมูลนาค เมื่อถูกยิงครั้นจะต่อสู้กับนายพรานซึ่งไม่มีฤทธิ์เดชอะไรก็กลัวจะเสื่อมเสียเกียรติยศ จึงสูบเอาวิญญาณของตนออกจากร่างฟานด่อน จากนั้นฟานด่อนก็ถึงแก่ความตาย
ภาพนายพรานยิงฟานด่อนด้วยลูกดอกอาบยาพิษ บนศิลปะกระเบื้องดินเผาที่ประตูเมืองสกลนคร
เมื่อฟานด่อนตายแล้ว ธนมูลนาคก็ทำฤทธิ์ให้ร่างกายฟานด่อนขยายใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ จนเท่ากับช้างสาร ฝ่ายนายพรานเห็นได้ที ก็ให้กำลังโยธาเจ้ายกหามเอาซากศพฟานด่อน ยกเท่าไหร่ก็ยกไม่ไหวเพราะความหนักเกินประมาณ นายพรานจึงจัดกำลังเข้าลากเอาศพฟานเผือกลงมาทางโพธิ์สามต้น ครั้นถึงริมหนองหารหลวง จะชักลากซากศพฟาน เผือกสักเท่าใดก็ไม่ไหวจริง ๆ นายพรานจึงใช้ม้าเร็วนำเหตุไปกราบเรียนพระยาสุรอุทก
เมื่อพระยาสุรอุทกทรงทราบดังนั้น จึงมีคำสั่งให้เอาเนื้อฟานด่อนมาถวาย เมื่อนายพรานทราบดังนั้น จึงสั่งให้เหล่าทหารและพลเมืองเข้าแร่เนื้อฟานด่อนเพื่อนำเข้าถวายพระยาสุรอุทก แต่แร่อยู่ ๓ วัน ๓ คืน ก็ไม่หมด พระยาสรุอุทกจึงรับสั่งให้แจกจ่ายเนื้อฟานด่อนให้ชาวเมืองได้กินกันทั่วหน้า แต่เนื้อฟานด่อนยังงอกทวีขึ้น จนคนในเมืองได้รับประทานทั่วกัน
พระยาสุรอุทกได้รับประทานเนื้อฟานด่อน (เก้งเผือก) ก็มีความยินดีปรีเปรมเกษมสุข เพราะเป็นเนื้อที่มีรส หวานอร่อยดีกว่าเนื้อสัตว์ต่างๆที่ผ่านมา ฝ่ายพระยานาคเมื่อรวบรวมกำลังโยธาได้แล้วก็ยังไม่หายความโกรธ พากัน ทำฤทธิ์มุดลงไปในบึงหนองหารหลวง
พอตกเวลากลางดึก ท่ามกลางเสียงที่เงียบสงัด คนในเมืองนอนหลับกันอย่างสงบเพราะฤทธิ์ของเนื้อฟานด่อน พระยานาคกับกำลังรี้พล จึงยกพล ขุดแผ่นดินเมืองหนองหารหลวงนั้น ให้ล่มลงเป็นน้ำผืนเดียวกับหนองหารหลวง ธนมูลนาคก็ตรงเข้าจับพระยาสุรอุทกด้วยบ่วงบาศก์ที่ทรงอิทธิฤทธิ์และลงเวทย์มนต์คาถาไว้ และชักลากพระยาสุรอุทกลงไปที่แม่น้ำโขง เมื่อธนมูลนาคและเหล่านาคทั้งหลายพากันชักลากพระยาสุรอุทกไปตามทุ่งนาป่าเขา วกไปวนมาหวังให้ได้รับความทุกขเวทนา ความลำบาก พอถึงแม่น้ำโขง
เมืองหนองหารหลวงและพระยาสุระอุทกถูกพญานาคโจมตีแบบไม่รู้ตัว และถูกรัดด้วยบ่วงนาคราชจนเสียชีวิตลากเอาศพไปทิ้งลงแม่น้ำโขง ทางที่ลากศพไปกลายเป็นร่องน้ำชื่อว่า "น้ำกรรม" ต่อมาเพี้ยนเป็น "น้ำก่ำ" เมืองหนองหารหลวงล่มจมธรณีกลายเป็นบึงขนาดใหญ่
พระยาสุรอุทกก็ขาดใจตาย ธนมูลนาค จึงส่งศพพระยาสุรอุทกไปยังเมืองอินทปัตถ์นคร ซึ่งเป็นเมืองเชื้อสายเดิม (หนทางที่ธนมูนนาค ชักลากพระยาสุรอุทกไปยังแม่น้ำโขงนั้นได้กลายเป็นล่องลึกและกลายมาเป็นลำน้ำ ชาวบ้านจึงเรียกลำน้ำนี้ว่าลำน้ำกรรม ภายหลังเรียกเพี้ยนกลายเป็นลำน้ำก่ำ ในปัจจุบัน) เพราะธนมูลนาคทรมานพระยาสุรอุทกให้ได้รับกรรมเช่นเดียวกับที่พระองค์สั่งให้คนลากร่างฟานด่อนมายังริมหนองหาร ส่วนหนทางที่นายพรานลากฟานด่อนมาถึงริมฝั่งหนองหาน ก็เกิดเป็นร่องลึกจนกลายมาเป็น”คลองน้ำลาก” (ไหลจากตำบลโพธิไพศาลมาตกยังหนองหารในปัจจุบัน)
ฝ่ายเมืองหนองหารหลวง เจ้าภิงคาร เจ้าคำแดง กับญาติวงศ์ข้าราชการ ชาวประชาชนซึ่งรู้สึกตัวก่อนจมน้ำ ก็ต่างคนต่างว่ายน้ำออกไปอาศัยอยู่ตามเกาะดอนกลางหนองหาร (ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่า เกาะดอนสวรรค์) ซึ่งเหลือจากกำลังนาคทำร้ายไม่หมด เจ้าภิงคารเจ้าคำแดงก็พาญาติวงศ์บ่าวไพร่ ขี่แพข้ามมาตั้งพักพลกำลังโยธาอยู่ที่โพนเมือง ริมหนองหารหลวงข้างทิศใต้ เจ้าภิงคารเจ้าคำแดง พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ ไปตรวจหาชัยภูมิที่จะตั้งบ้านสร้างเมือง เห็นว่าภูน้ำลอดเชิงชุม เป็นที่ชัยภูมิดี และเป็นที่ประชุมรอยพระพุทธบาทด้วย
เจ้าภิงคารจึงตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ข้าพเจ้าจะพาครอบครัวมาตั้งบ้านสร้างเมืองขึ้นที่ภูน้ำลอดนี้ เพื่อปฏิบัติรอยพระพุทธบาทด้วย ขอให้เทพยดาผู้มีฤทธิ์ จงช่วยอภิบาลบำรุงให้บ้านเมืองวัฒนาถาวรต่อไป
ในขณะนั้นมีพญานาคผู้ทรงศีลธรรมตัวหนึ่ง ชื่อว่าสุวรรณนาค ซึ่งเป็นผู้รักษารอยพระพุทธบาทพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ที่ภูน้ำลอด มีเกล็ดเป็นทองคำ ได้ผุดขึ้นมาจากพื้นพสุธาดล และอภิเษกให้เจ้าภิงคารเป็นเจ้าเมืองหนองหารหลวง ให้พระนามว่า “พระยาสุวรรณภิงคาร” (แปลว่าน้ำเต้าทองคำ) และได้ราชาภิเษกกับพระนางนารายณ์เจงเวง ราชธิดาของเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร (เชื้อสายเดียวกับผู้เป็นบิดา) เป็นเอกอัครมเหสี พระยาสุวรรณภิงคารและพระนางนารายณ์เจงเวงก็ได้ครองเมืองหนองหารหลวงโดยสวัสดิภาพตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ฝ่ายเมืองหนองหานน้อย (คาดว่าปัจจุบันคือ หนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี) ไม่มีผู้ครองบ้านเมือง เสนาอำมาตย์จึงทำพิธีอธิษฐานเสี่ยงราชรถหาผู้ครองบ้านเมืองต่อไป รถอันเทียมด้วยม้ามีกำลังก็พามาสู่หนองหารหลวง ราชรถเข้าไปเกยที่บันไดวังเจ้าคำแดงเสนาอำมาตย์ จึงกราบทูลเชิญเจ้าคำแดงไปเป็นเจ้าเมืองหนองหานน้อย เมืองหนองหานน้อยกับเมืองหนองหารหลวงจึงเป็นไมตรีพี่น้องกัน
ครั้นต่อมาถึงศาสนาพระโคดมบรมครูเจ้าของเรานี้ องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสาวกอรหันต์ จำนวน 1,500 รูป เสด็จมาจากเมืองศรีโคตรบูร แล้วมาฉันข้าวที่ภูกำพร้า หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าดอยเข็ญใจ
พระองค์ระลึกถึงประวัติพระพุทธเจ้าสามองค์ ที่เข้าสู่ปรินิพพาน แล้วได้มาประชุมรอยพระบาทไว้ที่ภูน้ำลอดเชิงชุมทุกๆองค์ พระองค์เห็นว่าจวนจะเข้าปรินิพพานแล้ว จึงพาสวกพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ไปสู่ภูน้ำลอดเชิงชุม ประทานรอยประทับลงที่แผ่นศิลา ซึ่งฝังอยู่ที่ภูน้ำลอด
ขณะนั้นพระยาสุวรรณภิงคาร ได้พร้อมบริวารมารับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้กระทำปาฏิหารย์ ให้พระยาสุวรรณภิงคารเห็นเป็นอัศจรรย์ คือแสดงให้มหารัตนมณีสามดวง ออกมาจากพระโอฐษ์ มีรัศมีรุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาลย์ทั่วทั้งอากาศนพดล คนทั้งหลายเห็นพอเส้นขนพองสยองเกล้า
พระยาสุวรรณภิงคารจึงกราบทูตพระผู้มีพระภาคเจ้า ถามปัญหาในข้ออัศจรรย์ พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า ที่นี้เป็นที่อันประเสริฐอันหนึ่งแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งได้ตรัสรู้สัพพัญญูเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้ ทุกพระองค์เมื่อจวนจะเข้าสู่ปรินิพพาน ก็ได้มาประชุมรอยพระพุทธบาทไว้ที่นี่ รัตนมณี ๓ ก็คือ ควงที่ ๑ พระเจ้ากุกกุฏสนธิ์ ดวงที่ ๒ คือพระโกนาคมน์ ดวงที่ ๓ คือพระเจ้ากัสสปที่ล่วงลับเข้าสู่ปรินิพพาน ดวงที่ ๔ ซึ่งเสด็จออกมาทีหลังก็คือองค์สัมมาสัมพุทธโคดมนี้แล เมื่อหมดศาสนาพระตถาคตครบ ๕,๐๐๐ พรรษาแล้ว ยังจะมีพระศรีอาริยเมตไตรเจ้าองค์หนึ่ง ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกัปนี้ พระองค์ก็ยังจะได้มาประชุมรอยพระบาทไว้ที่นี้อีกจึงจะหมดภัทรกัป
พระยาสุวรรณภิงคารเมื่อสดับฟังรสธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็มีความโสมนัสยินดีปรีดาปราโมทย์ในพระสัทธรรมเทศนานั้นยิ่งนัก เพราะว่าบ้านเมืองของตนตั้งอยู่ในสถานที่อันประเสริฐ พระยาสุวรรณภิงคาร ชักพระขรรค์ออกจะตัดศรีษะของพระองค์ถวายบูชาพระสัทธรรมเทศนา พระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี เห็นพระองค์ทรงพระสัญญาวิปลาส ดังนั้นจึงเข้ากุมพระหัตถ์แย่งพระขรรค์ไว้ แล้วทูลว่า เมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์มายุอยู่ยืนนาน ก็จะได้อุปถัมภ์บำรุงรอยพระพุทธบาท สืบพระพุทธศาสนาสร้างบุญกุศลสืบไป
พระยาสุวรรณภิงคารได้ยินนางเทวีห้าม ก็สะดุ้งพระทัยรู้สึกถึงคุณพระรัตนตรัย มีพระสติเลื่อมใสในรอยพระพุทธบาท พระยาก็ถอดมงกุฏกษัตริย์ ซึ่งมีราคาแสนตำลึงทองคำมณี สวมลงไปในรอยพระพุทธบาทเป็นเครื่องบูชา แล้วพระยาสุวรรณภิงคารก็อาราธนาพระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ไปรับบิณฑบาตรที่พระราชวังของพระองค์
พระพุทธเจ้ากระทำภัตกิจรับฉันอาหารบิณฑบาตร ทรงอนุโมทนาซึ่งทานแห่งพระยาสุวรรณภิงคารแล้ว ก็เสด์จไปประทับพระบรรทมที่แท่นศิลาอาสน์ ณ ดอยคูหาแล้วก็เสด็จไปเมืองกุฉินารายณ์ พระองค์เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานในกาละนั้น
ฝ่ายพระยาสุวรรณภิงคารกับพระนางนารายณ์นารายณ์เจงเวงราชเทวี ออกพร้อมด้วยบริวารสร้างอุโมงค์ก่อเป็นรูปเจดีย์สวมรอยพระพุทธบาทไว้ที่คูน้ำลอดเชิงชุม ให้นามว่าพระเจดีย์พุทธบาทโรมชุมหรือเชิงชุม ซึ่งมีรอบพระพุทธบาททั้ง ๔ พระองค์มารวมกันทับซ้อนอยู่เป็นหลักฐาน ณ แผ่นศิลาข้างล่างอูบมุงที่พระเจดีย์นั้น พระโบราณาจารย์เจ้าจึงอธิบายคาถาไว้ แก่ผู้มีน้ำใจเลื่อมใสศรัทธานมัสการพระเจดีย์นี้ ให้กล่าวว่า "มหาวาปี ปุเร สุวัณณะ ภิงคาระราเชนะ ฐาปิตัง จตุพุทธะ ปาทะวะลัญชัง สิระสานะมามิ" "ข้าพเจ้าขอนมัสการรอยพระพุทธบาทของพระอรหันตสัมพุทธเจ้า 4 พระองค์ ที่พระเจ้าสุวรรณภิงคาระให้สถาปนาไว้ ณ เมืองหนองหารหลวง ด้วยเศียรเกล้าฯ"

เชื่อมโยงสู่ตำนานพระธาตุนารายณ์เจงเวงและพระธาตุภูเพ็ก

ครั้นเมื่อถึงเดือน ๖ เพ็ญ วันพุทธปีชวด พระยาสุวรรณภิงคาร ได้ข่าวว่าพระสัมนะโคดมบรมศาสดา ปะยะมุลณีศรีสัญญเพ็ชรพระพุทธเจ้าของเรา เสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระเจ้ากับพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป จำนำเอาอุรังคธาตุพระพุทธเจ้า มาประดิษฐ์ฐานไว้ที่ภูกำพร้าพระยาสุวรรณภิงคารประชุมข้าราชการราษฏรทั้งหลายว่าเราคิดถึงคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เป็นอันมาก ควรเราทั้งหลายจะสร้างอุโมงค์ไว้คอยอุรังคธาตุ เพื่อรอแบ่งไว้สถาปนาเป็นทีสักการะบูชาสืบพระศาสนาต่อไป
ข้าราชการราษฎรทั้งชายและหญิง มีความยินดีเห็นชอบด้วย แต่ความมีศรัทธาแยกเป็น ๒ พวก คือพวกผู้ชายพอใจจะไปก่ออุโมงค์ไว้ที่ดอยคูหา(ภูเพ็ก) ซึ่งเป็นพระแท่นบัลลังก์พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับบรรทมที่นั่น พระยาสุวรรณภิงคารก็เห็นชอบด้วย ฝ่ายผู้หญิงมีพระนางนารายณ์เจงเวงเป็นประธาน พอใจที่จะก่ออุโมงค์ที่สวนอุทยานเจงเวง และจะก่อสร้างสะพาน (ปัจจุบันคือสะพานขอมโบราณ ตรงลานรวมใจไทสกลฯ ตรงข้ามห้างโลตัส) ด้วยหินศิลาแลงตามถนนออกจากเมืองให้ไปถึงอุทยานนารายณ์เจงเวง เพื่อความสะดวกในการไปมานมัสการบูชาพระธาตุนั้นทุกฤดูกาล ฝ่ายพระยาสุวรรณภิงคารก็อนุญาตตามความประสงค์ของพระนางเจ้านั้น ฝ่ายผู้ชายต่างมีความโสมนัสยินดี พูดจาแข่งกันว่า เมื่อรวบรวมหินแลง หินทราย หินอ่อน อิฐ ปูน พอแล้ว ก่อเวลาใดให้ให้สัญญากันเอาไว้ คือให้เสร็จภายในวันกับคืนเป็นอย่างช้า เมื่อให้อาณัติสัญญากันแล้วก็ลงมือก่อ ครั้นเวลากลางคืน ผู้ชายพวกหนุ่มๆ ก็ลักลอบมาก่อช่วยผู้หญิงโดยเสียมาก เพราะยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง อุโมงค์ของผู้หญิงก่อจึงสำเร็จก่อน และทั้งนางนารายณ์เจงเวงก็เป็นผู้มีไหวพริบดี สั่งให้บ่าวเอาโคมไปขึ้นผูกโยงเสาให้สูงบนต้นไม้ เพื่อให้แสงสว่างทั่วไป ฝ่ายผู้ชายที่ก่ออุโมงค์อยู่บนดอยคูหา เห็นแสงโคมก็สำคัญว่าดาวเพ็กหรือดาวประกายพรึกออกแล้ว ก็พากันหยุดเสียก่อขึ้นไปได้แต่เพียงขื่อเท่านั้น ฝ่ายหญิงก่อวันยังค่ำคืนยังรุ่งก็สำเร็จในคืนนั้น
พอรุ่งขึ้นพระมหากัสสปกับพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ เป็นบริวารเชิญพระอุรังคธาตุพระพุทธเจ้ามาถึงดอยคูหา พระยาสุวรรณภิงคารกับพระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี ขอแบ่งพระอุรังคธาตุพระพุทธเจ้า จะสถาปนาไว้ ณ อุโมงค์ของตนเพื่อเป็นที่ไหว้และบูชา ให้สำเร็จความปรารถนาของตนพระมหากัสสปเถรเจ้า จึงวิสัชนาว่าที่นี้ไม่ใช่ภูกำพร้า จะแบ่งอุรังคธาตุพระพุทธเจ้าที่นี้ก็ผิดจากคำพระพุทธวัจนะซึ่งทรงอาตมาไว้ แล้วจะไม่เป็นมงคลอันประเสริฐแก่พระยาเจ้า พระมหากัสสปจึงให้พระอรหันต์กลับไปเอาพระอังคารพระพุทธเจ้ามาบรรจุไว้ที่อุโมงค์คอยดูหา อุโมงค์นารายณ์เจงเวงพอเป็นที่นมัสการบูชา พระมหากัสสปให้นามอุโมงค์ดอยคูหาว่าธาตุภูเพ็ก โดยเหตุผู้ชายหลงว่าโคมไฟผู้หญิงเป็นดาวเพ็ก จึงก่ออุโมงค์ไม่สำเร็จ และให้นามอุโมงค์นางนารายณ์เจงเวงว่า ธาตุนารายณ์เจงเวง ตามนามพระนางนารายณ์เวงเจง ซึ่งเป็นเจ้าของสร้างบวงสรวงนั้น พระมหากัสสปจัดการสถาปนาธาตุภูเพ็กและธาตุเจงเวง ก็พร้อมอรหันต์ ๕๐๐ องค์เชิญพระอุรังคธาตุเจ้าไปยังภูกำพร้าพร้อมทั้งพระยาสุวรรณภิงคารและท้าวพระยาทั้งหลาย ก่ออุโมงค์สวนพระอุรังคธาตุพระพุทธเจ้าไว้ที่ภูกำพร้า แล้วก็ต่างองค์ต่างกลับไปยังบ้านเมืองของตน (ปัจจุบันอุโมงค์ที่ประดิษฐานพระอุวงรังคธาตุนั้นคือ องค์พระธาตุพนม นั่นเอง)

จากเมืองหนองหารหลวง สู่เมืองสกลนคร

ต่อมาเมื่อถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหารหลวงเกิดทุกขภัยฝนแล้งมา 7 ปี ราษฎรไม่ได้ทำนา เกิดความอดอยากข้าปลาอาหารไม่มีจะกิน เจ้าเมืองอพยพ ราษฎรอยู่ที่เมืองหนองหาร หลวงไปอยู่ที่เมืองเขมรกันหมด ทิ้งให้เมืองหนองหารหลวงกลายเป็นเมืองร้าง
ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ 19 เมืองหนองหารหลวงตก ไปอยู่ในความปกครอง ของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อเมืองว่า "เมืองเชียงใหม่หนองหาร" (หรือเมืองสระหลวง) ซึ่งแสดงว่า เมืองหนองหารหลวง มีความสัมพันธ์กับ เวียงจันทน์ เสมอมาก่อนที่อิทธิพลกรุงเทพฯจะเข้าไปถึงสกลนคร และคงอยู่ใต้การปกครองกันไปมา ระหว่างอาณาจักรล้านช้างกับอาณาจักรสุโขทัย และไม่ค่อยมีบทบาททางประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นนัก จนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้คนกระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็กๆ ทำมาหากินตามริมหนองหาร จ่ายส่วย อากรให้เจ้าแขวงประเทศราชศรีโคตรบอง(เมืองศรีโคตรบูรณ์) เพื่อถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองให้แก่ราชธานีกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น
ต่อมา
ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยครอบครัวมาตั้งรักษา พระธาตุเชิงชุม จนมีผู้คนมากขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุเชิงชุมเป็นเมืองสกลทวาปี โดยตั้งให้ อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระธานี เจ้าเมืองสกลทวาปี คนแรก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุเชิงชุมเป็นเมืองสกลทวาปี
ต่อมาปี พ.ศ. 2369 สมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เจ้าเมืองสกลทวาปีไม่ได้เตรียมกำลังป้องกันเมือง เจ้าพระยาบดินทร์ เดชานุชิต(สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพมาตรวจราชการเห็นว่าเจ้าเมืองกรมการไม่เอาใจใส่ต่อบ้านเมืองปล่อยให้ข้าศึก (ทัพเจ้าอนุวงศ์) ล่วงล้ำได้ โดยง่าย จึงสั่งให้นำตัวพระธานีไปประหารชีวิตที่หนองทรายขาว พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนในเมืองสกลทวาปีไปอยู่ที่ กบินทร์บุรีบ้าง ประจันตคามบ้าง ให้คงเหลือรักษาพระธาตุเชิงชุม แต่พวกศรีคอนชุม ต.ธาตุเชิงชุม บ้านหนองเหียน บ้านจานเพ็ญ บ้านอ่อมแก้ว บ้านธาตุเจงเวง บ้านพราน บ้านนาคี บ้านวังยางและบ้านพรรณา รวม 10 ตำบล เพื่อให้เป็นข้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุมเท่านั้น
ในสมัยต่อ ๆ มาได้มีราชวงศ์คำแห่งเมืองมหาชัยกองแก้วทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขอสร้างบ้าน แปงเมืองขึ้นใหม่ที่เมืองสกลทวาปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชวงศ์คำเป็นพระยาประเทศธานี (คำ) ในตำแหน่งเจ้าเมืองสกลทวาปี และทรงเปลี่ยนนามเมืองใหม่เป็น เมืองสกลนคร ตั้งแต่บัดนั้นมา จนถึง พ.ศ. 2435 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการปกครองเมืองสกลนคร จึงเปลี่ยนเป็นรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคมณฑลเทศาภิบาล โดยส่วนกลางส่งพระยาสุริยเดช (กาจ) มาเป็นข้าหลวงเมืองสกลนครคนแรก และมีพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรก
ใครขี้เกียจอ่านหรืออ่านแล้วยังงงๆ สามารถกดชมคลิปนี้เพื่อประกอบความเข้าใจได้ครับ

เทศกาลแห่ดาว-คริสต์มาส สกลนคร 2018


    งานเทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงการประสูตรของพระเยซูที่มีความเกี่ยวข้องกับดวงดาว โดยสถานที่จัดงานหลักคือชุมชนท่าแร่ อ. เมืองสกลนคร แต่จะมีการแห่เข้ามายังตัวเมืองสกลนคร ด้วยขบวนรถดาวนับหลายร้อยคันในช่วงเทศกาล
    ชุมชนท่าแร่ เป็นชุมชนคริสต์คาทอลิกที่ใหญ่ที่สุดในไทย ชุมชนนี้ในอดีตเกิดจากการร่องแพของชาวเวียดนามในทะเลสาบหนองหาร (ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในอีสาน) จากฝั่งตัวเมือง แล้วมาติดฝั่งที่ชุมชนท่าแร่ในปัจจุบัน โบสถ์หลักของที่นี่จึงทำเป็นรูปเรือ ที่นี่วางผังเมืองแบบตารางหมากฮอสแบบยุโรป มีสถาปัตยกรรมแบบผสมฝรั่งเศษอยู่หลายครั้ง บางหลังอายุนับ 100 ปี
    บรรยากาศจะสวยงามขนาดไหน เชิญชมได้เลยครับ


งานที่ท่าแร่





































งานที่เทศบาลนครสกลนคร

















^รูปจากเพจFBมหัศจรรย์สกลนคร