วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

หอนาฬิกาสกลนคร เริ่มดำเนินการสร้างต่อแล้ว

สกลนคร ซิตี้ เผยความคืบหน้าในการดำเนินการสร้างหอนาฬิกาในเขตเทศบาลนครสกลนครต่อ หลังจากที่ทาง อบจ.ได้ผู้รับเหมารายใหม่แล้ว และจะมีการก่อสร้างหอนาฬิกาของจังหวัดสกลนครแห่งที่ 2 ต่อ ที่อำเภอสว่างแดนดิน (เป็นรูปที่ลงเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2562)

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562

สกลนครผุดแผนสร้างศูนย์การเรียนรู้สมัยใหม่ มีห้องสตูดิโอให้ทดลองค้นหาความสามารถ!

สกลนครผุดแผนสร้างศูนย์การเรียนรู้สมัยใหม่ มีห้องสตูดิโอให้ทดลองค้นหาความสามารถ!

(โปรดคลิกที่รูป เพื่อชมขนาดที่ใหญ่ขึ้น)

โครงการสร้างศูนย์การเรียนรู้สำหรับทุกเพศ ทุกวัย ไทสกล เกิดขึ้นเนื่องจากสกลนครมีการสร้างเรือนจำแห่งใหม่ขึ้นจึงทำให้เรือนจำเดิมที่อยู่ในบริเวณเขตเมืองเก่าสกลนครถูกว่างเว้นจากการใช้ประโยชน์ไป จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่บริเวณดังกล่าว ให้กลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชาวสกลนคร จึงได้มีการระดมความคิด โดยรวบรวมความเห็นที่หลากหลายจากตัวแทนพี่น้องชาวสกลนคร พร้อมทั้งเปิดเวทีรับความคิดเห็นจากภาคประชาชนผ่านเวทีที่บริเวณลานคนเมือง ในเขตเทศบาลนครสกลนคร และในที่สุดก็ได้มีการพิจารณาให้สถานที่ดังกล่าวนี้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้สมัยใหม่ สำหรับชาวสกลนคร ในที่สุด

ลักษณะคร่าวๆของศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้จะแบ่งออกเป็น 2 โซนใหญ่ๆ คือ โซน A และ B มีการแบ่งแผนการสร้างออกเป็น 4 ช่วง

โซน A เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของชาวสกลนคร เดิมเป็นส่วนของบ้านพักข้าราชการเรือนจำเก่า มีการจำลองบ้านของชนเผ่าทั้ง 6 ของสกลนคร และ 2 เชื้อชาติ จีน เวียดนาม มีสระน้ำ สนามเด็กเล่น ลานกิจกรรม หอสูงสำหรับชมวิวหนองหาร สถานที่จำหน่ายสินค้า ร้านกาแฟ พื้นที่เรียนรู้ทางวัฒนธรรมต่างๆของชาวสกลนคร เช่น ผ้าย้อมคราม สินค้าตรา GI

โซน B เป็นโซนแห่งการเรียนรู้และการค้นหาความสามารถของตนเอง เดิมเป็นส่วนของตัวเรือนจำเก่า มีห้องปฏิบัติการให้เข้าไปทดลองค้นหาความถนัดของตนเองหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปะ งานช่าง ดนตรี การแสดง วิทยาศาสตร์ อาหาร คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนของสำนักงาน ห้องประชุม พื้นที่สำหรับงานแสดงความคิดสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์เรือนจำ ลานกิจกรรมอเนกประสงค์ กำแพงวาดภาพ พื้นที่ทดลองทางเกษตรกรรม พื้นที่พักผ่อน อ่านหนังสือ ห้องสมุดยุคใหม่ ห้องติวหนังสือ

รายละเอียดอื่นๆ ชมได้ในรูปภาพเลยครับ

(โปรดคลิกที่รูป เพื่อชมขนาดที่ใหญ่ขึ้น)


































ศูนย์จัดการมูลฝอยเทศบาลนครสกลนครเริ่มทดลองเดินระบบแล้ว!

โปรดคลิกที่รูปเพื่อชมในขนาดที่ใหญ่ขึ้น
ที่มา:วารสารเทศบาลนครสกลนค

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

เทศบาลนครสกลนคร ต้นแบบศูนย์จัดการขยะระดับประเทศ (ข่าววันที่ 17 เมษายน 2561)


"สกลนคร" จังหวัดที่ถูกล้อมรอบด้วยสะพานมิตรภาพไทย-ลาวมากที่สุด

"สกลนคร" คือจังหวัดที่ถูกล้อมรอบด้วยสะพานมิตรภาพไทย-ลาวมากที่สุด และเป็นจังหวัดที่อยู่ในตำแหน่งของศูนย์กลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ในอีสานตอนบนทั้ง 4 แห่ง คือ
1. สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 - สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดหนองคายเข้ากับกรุงเวียงจันทน์
2. สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 2 - สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารเข้ากับแขวงสุวรรณเขต
3. สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 3 - สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดนครพนมเข้ากับท่าแขก
4. โครงการสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 - สะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดบึงกาฬเข้ากับปากซัน
🏆นับเป็นจุดแข็งและข้อได้เปรียบทางด้านกายภาพอย่างหนึ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของจังหวัดสกลนคร แม้จะไม่ได้ติดกับ สปป.ลาว แต่รายล้อมด้วยจังหวัดที่ติดกับ สปป.ลาว หากใครสามารถมองจุดนี้เป็นโอกาสทางธุรกิจได้ คงจะดีไม่น้อยเลยทีเดียว👀
(#หมายเหตุ สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 4 อยู่ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งไม่ได้อยู่ในภาคอีสาน)
(คลิกที่รูปเพื่อชมภาพขนาดใหญ่ขึ้น)

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562

วัดดอยธรรมเจดีย์ (สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอโคกศรีสุพรรณ)

ประวัติความเป็นมา

วัดดอยธรรมเจดีย์ บ้านนาสีนวล ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร แต่เดิมเคยเป็นถ้ำเสือบนเทือกเขาภูพาน มีความสงบวิเวกดี ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ได้มาปักกลดที่ปากถ้ำเสือนี้ แล้วปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานจนเสือที่เคยอาศัยอยู่ ณ ถ้ำแห่งนี้ ต้องหลีกทางให้ท่านอยู่ปฏิบัติเพราะสู้เมตตาธรรมของท่านไม่ได้ ต่อมาหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ก็ได้สร้างเป็นวัดขึ้นมาและเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ปัจจุบันมีหลวงพ่อแบน ธนากโร เป็นเจ้าอาวาส ในคราวที่องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เดินทางมาที่วัดแห่งนี้พร้อมกับพระอุปัชฌาย์ คือ พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) แห่งวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี และผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครในขณะนั้น ได้ตั้งชื่อวัดโดยเอานามพระอุปัชฌาย์ขององค์ท่านมาตั้งเป็นชื่อ วัดแห่งนี้จึงมีนามว่า “วัดดอยธรรมเจดีย์” มาจนกระทั่งทุกวันนี้
วัดตั้งอยู่ในเขตอำเภอโคกศรีสุพรรณ ออกจากตัวเมืองสกลนครไปเส้นทางสายอำเภอนาแก ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอโคกศรีสุพรรณ เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร วัดมีเนื้อที่ 900 ไร่ เป็นป่าโปร่งบนภูเขาหิน สงบร่มรื่น หน้าร้อนค่อนข้างร้อนมากๆ อาจจะไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ ซึ่งที่น่าจะดีมากๆ คือช่วงหน้าฝนหรือช่วงปลายฝนต้นหนาว เพราะมีลำธารน้ำไหล บรรยากาศสัปปายะ สงบร่มรื่นมาก หน้าหนาวก็จะหนาวมากแบบภาคอีสานตอนบน เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม เจริญจิตตภาวนาเป็นยิ่งนัก
วัดดอยธรรมเจดีย์ เป็นวัดป่าปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต โดยเป็น 1 ใน 4 วัดที่องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งภาคปฏิบัติ เพราะมีข้อวัตรปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดตามแบบฉบับพระกรรมฐานสายนี้
ขอบคุณเนื้อหาจาก



รูปจาก

รูปจาก FB: Tippawan Kompipatpong


พิกัดใน Google Map คลิก!
https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C/@16.9985883,104.251673,197m/data=!3m1!1e3!4m8!1m2!2m1!1z4Lin4Lix4LiU4LmD4LiZ4Lin4Lix4LiU4LiU4Lit4Lii4LiY4Lij4Lij4Lih4LmA4LiI4LiU4Li14Lii4LmMIOC4leC4s-C4muC4pSDguJXguK3guIfguYLguILguJog4Lit4Liz4LmA4Lig4LitIOC5guC4hOC4geC4qOC4o-C4teC4quC4uOC4nuC4o-C4o-C4kyDguKrguIHguKXguJnguITguKM!3m4!1s0x0:0x5997fc0ca2b86a64!8m2!3d16.9984684!4d104.2522079?hl=th


วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

พระธาตุเมืองอากาศ (สถานที่ท่องเที่ยวอำเภออากาศอำนวย)

ที่ตั้ง ถนนราษฎร์พัฒนา ตำบล อากาศ อำเภอ อากาศอำนวย สกลนคร 47170

ความเป็นมา การสร้างการก่อสร้างพระธาตุเมืองอากาศ
ในอดีตกาลบ้านอากาศย้ายถิ่นมาจากเมืองฮ้อมท้าวฮูเซ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๓๙๖ รวมเป็นเวลา ๑๕๓ ปีนับตั้งแต่การตั้งเมืองอากาศ แต่ยังไม่มีพระธาตุประจำเมืองเคยมีคนปรารรภสร้างแต่ก็ไม่สำเร็จและก็ย้ายไปสร้างพระธาตุท่าอุเทนแทน ปัจจุบันฐานพระธาตุที่สร้างไม่สำเร็จก็ยังคงปรากฎอยู่ ต่อมาท่านพระครูพิมลธรรมนิเทศก์ได้เดินทางไปยังประเทศพม่า สังเกตุเห็นทุกวัดมีเจดีย์พระธาตุองค์ต่างๆจึงตั้งจิตอธิฐานที่เจดีย์ชเวดากองว่า "ขอให้ได้สร้างพระธาตุประจำเมืองอากาศให้สำเร็จ เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการะของคนทั่วไป และเพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา" จากนั้นท่านพระครูพิมลธรรมนิเทศก์เดินทางกลับมาในปี พุทธศักราช ๒๕๔๙ จึงได้พาญาติโยมชาวเมืองอากาศก่อสร้างโดยมีฐานกว้าง ๙ x ๙ เมตร สูง ๓๗ เมตร สร้างเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร พระเดช พระคุณ พระพรหมเวที เจ้าคณะภาค ๘ กรรมการมหาเถระสมาคม มาเป็นประธานในการบรรจุ อนึ่งทางวัดมีความประสงค์ขอทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร ทรงเสด็จเป็นประธานประกอบพิธียกฉัตรเจดีย์พระธาตุเมืองอากาศ เพื่อเป็นมิ่งมงคล สืบไปชั่วกาลนาน
(ข้อมูลจาก http://www.akatumnuay.go.th/index.php?option=com_content&task=blogsection&id=22&Itemid=230)

ที่มารูป

ที่มา ตามรูป

ที่มารูป

ที่มารูป


พิกัดใน Google Map
https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87/@17.598726,103.9833988,377m/data=!3m1!1e3!4m5!3m4!1s0x313b6173548f80cb:0xbaceba7893f4e0e7!8m2!3d17.5985413!4d103.9840172?hl=th

ประเพณีไหลเรือไฟอำเภออากาศอำนวย 2559 (มีโปเกม่อนด้วยนะ!)


ภูน้ำลอด บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญต่อชีวิตชาวเมืองสกลนคร

ภูน้ำลอด บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์หน้าวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ในอดีตนับว่ามีความสำคัญต่อชาวสกลนครมาก โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์แล้ง 7 ปี (ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่) ในช่วงนั้นชาวเมืองสกลนครได้ตักน้ำดื่มจากบ่อน้ำแห่งนี้เพื่อประทังชีวิต เชื่อว่าเป็นน้ำที่ไหลมากจากเทือกเขาภูพาน เดิมเป็นเพียงบ่อน้ำก่อกำแพงบ่อด้วยศิลาแลง ปัจจุบันมีการปิดก้นบ่อไว้ เพื่อกันคนตกลง แต่ก็มีน้ำตามธรรมชาติผุดขึ้นมาตลอดทั้งปี ไม่เคยแห้ง มีเรื่องเล่าในอดีตว่า หากทำถังตกลงในบ่อแห่งนี้จะไปโผล่อีกทีที่สระพังทอง ซึ่งเป็นสระน้ำ (บาราย) โบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยขอม ปัจจุบันมีการบูรณะและสร้างเป็นรูปปั้นพระยาสุวรรณนาคไว้ (พยานาคสีทองตามตำนานการกำเนิดเมืองสกลนคร ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับตำนานพระอุรังคธาตุของนครพนม) นอกจากนี้บ่อน้ำแห่งนี้ยังถูกนำมาใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกด้วย



รูปโดย สันติภาพ อุดมปรัชญาภรณ์ 16-4-2562