วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

รายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสาน 2564

 19 เมษายน 2565 ISAN Insight & Outlook ได้โพสต์รูปและข้อความไว้ดังนี้...

(คลิกที่รูปเพื่อชมในขนาดที่ใหญ่ขึ้น)

รายได้จากการท่องเที่ยวในภาคอีสาน เป็นจั่งใด๋ ?
.
ปี 2564 ภาคอีสานมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 13 ล้านคน และมีรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 21,016 ล้านบาท ลดลง 56.2% จากปี 2563 ที่มีรายได้ 47,979 ล้านบาท โดยรายได้หลักยังคงมาจากคนในประเทศ
.
5 จังหวัดภาคอีสาน ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด ปี 2564 เทียบกับ ปี 2563
.
อันดับ 1. นครราชสีมา 5,807 ล้านบาท | 12,675 ล้านบาท
อันดับ 2. ขอนแก่น 3,151 ล้านบาท | 8,690 ล้านบาท
อันดับ 3. อุดรธานี 2,117 ล้านบาท | 5,692 ล้านบาท
อันดับ 4. อุบลราชธานี 1,498 ล้านบาท | 3,416 ล้านบาท
อันดับ 5. บุรีรัมย์ 1,456 ล้านบาท | 1,828 ล้านบาท
.
จะเห็นว่า ปี 2564 การท่องเที่ยวในภาคอีสานซบเซาอย่างหนัก ทำให้ปีนี้ ภาครัฐต้องเร่งใช้มาตรการพลิกฟื้นการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง เพื่อชดเชยรายได้ที่สูญเสียไป แต่ยังต้องคำนึงถึงศักยภาพของภูมิภาค ซึ่งแบ่งได้ 3 มิติ
.
1. Domestic Tourism
.
จากจำนวนผู้ใช้สิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกัน สะท้อนให้เห็นความต้องการเดินทางเพื่อพักผ่อนของนักท่องเที่ยวไทยได้อย่างมาก แต่การท่องเที่ยวในประเทศที่อยู่ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ (Weekend Travel) เป็นหลักนั้น ไม่เอื้อต่อการจ้างงานแบบเต็มเวลาในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
.
ดังนั้น นโยบายภาครัฐและการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการส่งเสริมให้ออกมาทำงานนอกบ้าน (Work From Anywhere หรือ Workation) ตามลักษณะและความจำเป็นของงาน นอกจากจะช่วยลดความแออัดในสถานที่ทำงานแล้ว ยังช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมมีทางเลือกในการทำการตลาดและการจ้างงานแบบเต็มเวลามากขึ้น (เป็นผลดีกับลูกจ้างด้วย)
.
2. E-Tourim Platform
.
จากผลสำรวจของ Fuel Travel Company ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการทำตลาดโรงแรม พบว่า หลังโรคระบาดครั้งนี้ กลุ่ม Gen Y หรือ Millennials มีแนวโน้มกลับมาเดินทางก่อนเป็นกลุ่มแรก เนื่องจากมีความกังวลน้อยกว่า Gen X ที่กำลังมีครอบครัว และ Baby Boomers ที่เป็นผู้สูงอายุ
.
โดยกลุ่ม Gen Y มีความคุ้นเคยต่อการใช้งานออนไลน์สูง จึงเป็นโอกาสในการยกระดับความพร้อมของเครือข่าย ICT และพัฒนา E-Tourism Platform เพื่อให้ตรงความต้องการ อำนวยความสะดวก หรือส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้ได้มากที่สุด
.
3. ยกระดับการเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวด้านต่าง ๆ
.
การให้ความสำคัญกับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่หลากหลาย ควบคู่กับการคำนึงถึงศักยภาพของภูมิภาค จะทำให้เกิดการท่องเที่ยวในมิติที่ต่างไปจากเดิม เช่น
.
การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) ที่กำลังได้รับความนิยมในต่างประเทศ สำหรับไทยโดยเฉพาะภาคอีสาน ต้องยกให้จังหวัดขอนแก่นที่กำลังจะเป็นศูนย์บริการการแพทย์ชั้นเลิศ (Medical Hub) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นผลดีไปถึงธุรกิจโรงแรมและที่พักด้วย เพราะต่อไปหากอยากเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพแบบครบวงจร ก็ไม่จำเป็นต้องเข้ากรุงเทพฯ หรือบินไปต่างประเทศเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
.
เชิงอาหาร (Culinary Tourism) เช่น การกำหนดพื้นถิ่นเพาะปลูก อาหารประจำถิ่น ยกตัวอย่าง ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ พันธุ์ข้าวที่ได้รับการยอมรับระดับโลก ที่สามารถพัฒนาเป็นกิจกรรมโฮมสเตย์เพื่อสร้างรายได้เสริมได้
.
รวมไปถึง เชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism) เช่น ตามรอยภาพยนตร์-ละครดังอีสาน การท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม (Focus Tourism) เช่น Halal Tourism และ LGBTQ+ Tourism และการท่องเที่ยวกลางคืนที่ปลอดภัย (Safe Nightlife Tourism) เช่น ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง อาหารริมทาง ไปจนถึงสถานบันเทิงต่าง ๆ
.
.
อ้างอิงจาก
https://kku.world/mgre6
https://kku.world/ypf45
.
#ISANInsightAndOutlook #อีสาน #รายได้จากการท่องเที่ยว


โพสต์ต้นฉบับ: https://www.facebook.com/isaninsight/photos/a.111210253939963/526782059049445/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น