แหล่งโบราณคดีบ้านดอนธงชัย ตั้งอยู่ในเขตวัดชัยมงคล บ้านดอนธงชัย ตำบลสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีลักษณะเป็นเนินดินขนาดใหญ่ สูงจากที่นาโดยรอบประมาณ จากการศึกษาทางโบราณคดีพบหลักฐานว่าเนิน ดินแห่งนี้มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ราว ๓,๘๐๐ - ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว โดยใช้เป็นทั้งพื้นที่อยู่อาศัยและฝังศพ ดินเผา ใช้ทำภาชนะสำหรับบรรจุหุงต้มอาหาร ทำหินดุ รูปร่างคล้ายเห็ดใช้ขึ้นรูปภาชนะ ทำเป็นเครื่องมือปั่นด้ายในการทอผ้า ซึ่งแม้ไม่มีหลักฐานเป็นชิ้นผ้า แต่ได้พบรอยประทับของเส้นใยผ้าบนชิ้นส่วนเครื่องมือเหล็ก ใช้ทำลูกกระสุนสำหรับยิงล่าสัตว์ขนาดเล็ก ใช้ทำเบ้าแบบปากจีบสำหรับหลอมทองแดงและดีบุกทำสำริดและใช้ปั้นตุ๊กตารูปสัตว์ เช่น วัว-ควาย หิน ใช้ทำเครื่องมือสำหรับทุบ ทำหินลับ ขวานหินขัด และแม่พิมพ์สำหรับหล่อเครื่องสำริดซึ่งล้วนแต่เป็นหินชนิดที่พบได้ในท้องถิ่น กระดูกนำมาถากเหลาเป็นเครื่องมือปลายแหลม ไม้ไผ่ จากหลักฐานก้อนดินเผามีรอยประทับของเครื่องจักสาน สะท้อนให้เห็นว่าคนก่อนประวัติศาสตร์สมัยกลางของบ้านดอนธงชัยมีเครื่องจักสานใช้แล้วโดยอาจใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุเพราะหาได้ง่ายในท้องถิ่น โลหะ เริ่มรู้จักใช้สำริดก่อน โดยนำทองแดงและดีบุกซึ่งเป็นวัตถุดิบจากต่างถิ่นมาหลอมและหล่อทำเครื่องมือ/เครื่องประดับ ใช้เองในชุมชน ได้แก่ ขวาน หัวลูกศร เครื่องมือปลายแหลม กระดึง และห่วงคอ วัฒนธรรมการใช้และเทคโนโลยีการผลิตสำริดของที่นี่ไม่แตกต่างไปจากแหล่งโบราณคดีอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ เพื่อตอบสนองชีวิตสังคมชาวนา ใช้ในชีวิตประจำวันและอุทิศให้ศพ ด้วยประเภทของวัตถุที่คล้ายคลึงกัน และเทคนิคการหลอมหล่อเช่นเดียวกัน ต่อมาในระยะหลังจึงเริ่มรู้จักใช้เหล็กทำเครื่องมือเช่น เคียว และ ขวาน มีประเพณีการฝังศพเมื่อตาย พร้อมอุทิศสิ่งของให้ ได้แก่ ภาชนะดินเผา เครื่องสำริด ก้อนหิน ขวานหินขัด ลูกปัดหิน ลูกปัดแก้ว และกระดูกสัตว์ โดยวางศพในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว ในหลุมที่ขุดลึกลงไปใต้พื้นที่อยู่อาศัยและวางข้าวของเครื่องใช้บริเวณศพ
Cr:เพจเรารักสว่างแดนดิน
โพสต์ต้นฉบับ
https://www.facebook.com/groups/281507409532556/permalink/522028742147087/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น