วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

อำเภอพังโคนผุดแผนสร้างแลนด์มาร์กประจำอำเภอ "พญาช้าง"

โครงการก่อสร้างประติมากรรมช้าง แลนด์มาร์คสำคัญอำเภอพังโคน ณ หน้าที่ว่าการอำเภอพังโคน

บ้านพังโคน มีประวัติเล่ามาว่า เมื่อครั้งอดีต คราวนครหลวงเวียงจันทน์เกิดกบฏ พวกกบฏได้ปล่อย ช้างมงคล คือพลายคำมิ่ง ตัวผู้มีงา กับช้างดอ (ไม่มีงา) ชื่อ มิ่งมงคล และช้างพัง (ตัวเมีย) ชื่อโคน รวม 3 ช้างของเจ้านครเวียงจันทน์ ข้ามโขงมาฝั่งของไทย เมื่อเจ้านครเวียงจันทน์ได้ปราบกบฏเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงสั่งให้บรรดาควาญช้างต้น ข้ามโขงมาตามเอาช้างมิ่งมงคลที่ปล่อยมานั้นคืน และได้ติดตามจนมาพบช้างที่ริมหนองอีนาง เขตท้องที่อำเภอพรรณานิคม จึงพากันจับช้างดอชื่อมิ่งมงคลที่หนองอีนางนั่นเอง

ส่วนอีก 2 ช้าง คือพลายคำมิ่ง กับพังโคนไปตามไปพบที่ดอนตูม ซึ่งอยู่กลางทุ่งนามีต้นตูมขึ้นอยู่มากใกล้กับหมู่บ้านจัมปา จึงจับพลายคำมิ่งได้ ส่วนช้างพังที่ชื่อโคนจับไม่ได้ จึงลงความเห็นว่าต้องใช้ปืนยิงที่เท้าให้เจ็บเสียก่อนจึงจะจับได้ เมื่อถูกยิงแทนที่จะจับได้กลับอาละวาดเป็นการใหญ่ บรรดาควาญช้างลงความเห็นว่าควรจะจับตาย จึงใช้ปืนยิงให้ตายแล้วจึงนำซากช้างพังที่ชื่อโคนมาฝังไว้ บริเวณดอนตูมแห่งนี้แล้วจึงพากันนำช้าง 2 ช้าง กลับนครเวียงจันทน์

ต่อมาชาวบ้านจึงพากันเรียกดอนตูมแห่งนี้ว่า “ดอนพังโคน” ตามนามของช้างที่ชื่อ ”พังโคน” และบริเวณดอนอีนางก็เรียกว่า "บ้านช้างมิ่ง" ตามนามของช้างพลายคำมิ่งมาจนทุกวันนี้

(ปัจจุบัน บ้านช้างมิ่ง อยู่ที่ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม)

ปล.สรรพนามเรียกช้างป่า = ตัว
ช้างบ้าน = เชือก
ช้างต้นหรือช้างสำคัญ เรียก ช้าง ครับ

เรียบเรียงโดย เพจสกลนคร ซิตี้





รูปและข้อความจาก https://www.facebook.com/sakonnakhon/posts/3895500720476661


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น