กรณีได้รับการยกขึ้นเป็นเมืองกรุงเทพจะเปลี่ยนชื่อชุมชนเดิมเป็นคำบาลี ปราฏหลายเมืองในอีสาน อาทิ บ้านยางใหญ่ เป็นเมืองมหาสารคาม (มหา=ใหญ่,สาละ=ต้นยาง,คาม=บ้าน) เป็นต้น
ส่วนกรณีของสกลนคร พงศาวดารลาว พงศาวดารเมืองกาฬสินธุ์ พงศาวดารเมืองสกลนคร เรียกที่ตั้งของเมืองสกลนครว่ส "บ้านเชียงชุม" บ้าง หรือเรียก "บ้านหนองหารเชียงชุม" บ้าง กรุงเทพแปลงนามจาก "เชียงชุม" เป็น "สกลนคร"
เชียง = เมือง = นคร
ชุม = ทั่งมวล = สกล
เชียงชุม = สกลนคร
ชุม = ทั่งมวล = สกล
เชียงชุม = สกลนคร
เอกสารในภาพระบุว่ายกเป็นเมืองสกลนคร เมื่อ จ.ศ.1200 หรือ พ.ศ. 2381 แต่อย่างไรก็ตามเอกสารทางราชการจากกรุงเทพรวมถึงแผนที่พบว่า สกลนครเป็นสกลนคร มาเมื่อครั้งแผ่นดินรัชกาลที่ 1 เลยทีเดียว
ในกรณีสกลทวาปี ปรากฏครั้งแรกในพงศาวดารเมืองสกลนคร ร่างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2461 ระบุว่า "เปลี่ยนนามเมืองจากสกลทวาปีเป็นเมืองสกลนคร" ซึ่งไม่ตรงตามข้อเท็จจริงในเอกสารของราชการที่ส่งจากกรุงเทพหรือสกลส่งไปยังกรุงเทพ ทั้งนี้ อนุมานว่า เป็นการกำหนดของคณะกรรมการเขียนพงศาวดาร เพื่อแยกความเป็นสกลนครเก่า และสกลนครใหม่ เมื่อครั้งเกิดกรณีสงครามกรุงเทพกับนครเวียงจันทน์ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ของเมืองใหม่ภายใต้การปกครองของกรุงเทพ
ส่วนคำว่า "บ้านธาตุเชิงชุม" เดิมชื่อ "บ้านธาตุเชียงชุม" และพระธาตุเชิงชุม เรียก "พระธาตุเชียงชุม" ดังปรากฏในบันทึกชองจมื่นศรีวรวงศ์ เมื่อ พ.ศ.2449 ว่า "พระเจดีย์เชียงชุม" ส่วนคำว่า "เชิงชุม" ปรากฏว่าข้าหลวงให้เปลี่ยนมาใช้คำว่า "เชิงชุม" เป็นชื่อตำบล ทั้งนี้ยังอิงอาศัยนามเรียกพระธาตุเชิงชุมที่ปรากฏในอุรังคธาตุ ว่า "ธาตุเชิงสุม" ที่หมายถึง ชุมนุมซึ่งรอยพระพุทธบาท มาเป็นชื่อตำบลธาตุเชิงชุมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น